บทที่2วัฒนธรรมในแต่ละภาค

วัฒนธรรมภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์
ภาคใต้ ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนักภาคใต้มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด  ได้แก่    จังหวัดกระบี่   จังหวัดชุมพร   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดนราธิวาส   จังหวัดปัตตานี  จังหวัดพังงา  จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต   จังหวัดระนอง  จังหวัดสตูล   จังหวัดสงขลา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดยะลา
ประเพณีลอยเรือชาวเล
ประเพณีลอยเรือชาวเล
          เป็นงานประเพณีเก่าแก่ที่หาดูได้ยากของชาวเลเกาะลันตา งานนี้จัดขึ้นตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 และเดือน 11 โดยกลุ่มชาวเลที่เกาะลันตาและเกาะใกล้เคียง จะมาชุมนุมกันทำพิธีลอยเรือ เพื่อสะเดาะเคราะห์ บริเวณชายหาดใกล้กับบ้านศาลาด่าน มีการร้องรำทำเพลง และการร่ายรำรอบลำเรือด้วยจังหวะและทำนองเพลงรองเง็ง


ประเพณีลาซัง
ประเพณีลาซัง
          ประเพณีของชาวพุทธในจังหวัดนราธิวาส แถวอำเภอตากใบเรียกว่า ลัมซัง ประเพณีนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อเรื่องที่นา เรื่องแม่โพสพ เชื่อว่าจะทำให้ข้าวในนาปีต่อไปงอกงาม ให้ผลผลิตสูง หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ผู้นำชุมชนก็จะกำหนดวันลาซัง ก่อนวันลาซัง ต้องเตรียมการทำขนมจีน ชาวบ้านจะไปชุมชุมกันที่สถานที่จัดงาน ส่วนใหญ่มักจะเป็นศาลากลางทุ่งนา โดยจะจัดเตรียมลานกว้างกลางทุ่งนาเพื่อใช้จัดกิจกรรม หลังจากเสร็จพิธี จากนั้นชาวบ้านจะนำขนมจีนมาเลี้ยงพระ เสร็จแล้วจะกินขนมจีนร่วมกัน


ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
          ชาวนครฯ เชื่อมั่นว่าระบรมธาตุเจดีย์เป็นเสมือนตัวแทนของพระพุทธศาสนา ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทุกปีหนึ่งๆ จะมีการบูชาบวงสรวง ปีละ 2 ครั้ง คือวันมาฆบูชา และในวันวิสาขบูชา โดยนำผ้ามาห่อหุ้มองค์เจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคล มีการจัดขบวนแห่ผ้าพระบฏนำขึ้นไปถวายสักการะ ในเวลากลางคืน จะเวียนเทียน


ประเพณีชิงเปรต
ประเพณีชิงเปรต
           เป็นประเพณีเนื่องในเทศกาลวันสารท เดือนสิบของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ จัดทำในวัดทุกวัดในวันแรม 14 หรือ 15 ค่ำ เดือนสิบ โดยทำร้านจัดสำรับอาหารคาวหวานไปวางอุทิศส่วนกุศลให้เปรตชน (ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว) ร้านที่วางอาหารเรียกว่า ร้านเปรต ซึ่งสร้างไว้กลางวัด ยกเสาสูง มีสี่เสาบ้าง เสาเดียวบ้าง บนร้านเปรตจะมีสายสิญจ์วงไว้รอบและต่อยาวไปถึงที่พระสงฆ์นั่งทำพิธีกรรม พิธีเสร็จบรรดาผู้มาร่วมทำบุญก็จะเข้าไปรุมแย่งอาหารสิ่งของ อาหารคาวหวาน ที่อยู่บนร้านเปรตอย่างสนุกสนาน จากนั้นก็จะจัดอาหารถวายเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่อยู่ในวัด ต่อจากนั้นผู้มาร่วมงานทุกคนก็จะกินอาหารร่วมกัน


ประเพณีแห่พระแข่งเรือ
ประเพณีแห่พระแข่งเรือ
          เป็นประเพณีเก่าแก่ของอำเภอหลังสวน จัดในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี หรือเดือนตุลาคม โดยจะมีเรือพระจากวัดต่าง ๆ ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามมาร่วมแห่ง และการแข่งขันเรือพายในแม่น้ำหลังสวน


ลิเกป่า
ลิเกป่า
          เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ดัดแปลงมาจากลิเกสิบสองภาษา เริ่มต้นจะเล่นเรื่องราวของแขกแดงว่ามาจากเมืองลักกะตา (กัลกัตตา) มาค้าขายบนฝั่งทะเลตะวันตก แล้วมาได้ภรรยาเป็นคนพื้นเมืองชื่อ “ยายี” หรือ “ยาหยี” และพากลับบ้านเมือง จากนั้นจะแสดงเรื่องอื่นต่อไป ลิเกป่าเป็นการแสดงที่ประสานวัฒนธรรมหลากหลายเข้าด้วยกัน อาทิ ดนตรีจะใช้รำมะนา ทับโหม่ง กลอง ฉิ่ง บทกลอนจะมีการประสมทำนองมโนราห์กับเพลงบุรันยาวา ศิลปินลิเกป่าในกระบี่มีจำนวนมาก เพราะนิยมเล่นกันมาช้านาน


ประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระ
          วันออกพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านกับวัดจะร่วมกัน จัดให้มีการชักพระ โดยสมมุติได้ไปต้อนรับพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์ ประทับ บุษบกแห่เป็นขบวนไปยังสถานที่ต่างๆ วัดใดจะชักพระบกหรือชักพระน้ำขึ้นอยู่กับความสะดวกของท้องถิ่น


ประเพณีแห่นก
ประเพณีแห่นก
          จัดขึ้นเป็นเกียรติในงานเทศกาลงานเฉลิมฉลอง หรืองานมงคลทั่วไป เช่น พิธีสุหนัดในศาสนาอิสลาม หรือใช้เป็นขบวนแห่ต้อนรับอาคันตุกะผู้เป็นแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญ นอกจากนี้ยังมีประเพณีงานสารทเดือน 10 ระหว่างวันแรม 14-15 ค่ำ มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว กลางคืนมีมหรสพของปักษ์ใต้ฉลอง เช่น ลิเกฮูลู ซึ่งคล้ายกับลำตัดหรือเพลงฉ่อยของภาคกลาง โนรา หนังตะลุง รองเง็ง (คล้ายรำวง นิยมเล่นกันในราชสำนักชวามาก่อน จึงแพร่หลายเข้ามาทางปักษ์ใต้) มะโย่ง (ละครไทยมุสลิมภาคใต้) ซีละ (กีฬาอย่างหนึ่งของชาวมลายู ซึ่งแสดงถึงศิลปะการต่อสู้ที่สง่างามและกล้าหาญ)


ประเพณีกินวาน
ประเพณีกินวาน
           การไหว้วานให้เพื่อนบ้านมาช่วยลงแรงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่ผู้ร่วมแรงไม่คิดค่าแรง งานบางอย่างอาจผลัดเปลี่ยนช่วยกันทำเป็นบ้าน ๆ อย่างที่ทางภาคกลางเรียกการลงแขก แต่งานกินวานบางอย่างอาจไม่มีโอกาสที่จะผลัดเปลี่ยนกัน การไหว้วานใช้วิธีบอกกล่าวกันด้วยวาจา ผู้ไหว้วานอาจจะไปบอกด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้คนอื่นบอกแทนก็ได้ เรียกว่า ออกปาก และถือเป็นประเพณีที่เจ้าภาพจะต้องเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมลงเรง จึงมักใช้คำว่า ไปกินวานผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปกินวาน เมื่อไปถึงที่กินวานก็ต้องไปบอกเจ้าภาพว่าคนในบ้านนี้มาแล้ว อาหารที่จัดเลี้ยงแขกที่มากินวาน ถ้าเป็นงานที่ต้องทำตลอดวัน ต้องเลี้ยงอาหารคาวหวาน                                   ที่มาhttp://www.baanjomyut.com/76province/center/index.html
                      
วัฒนธรรมภาคกลาง

        สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ภาคกลาง ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนักภาคกลางมีทั้งสิ้น 22 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร 
ประเพณีรับบัว
ประเพณีรับบัว
           ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดและจัดขึ้นในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มาช้านานแต่เพิ่งปรากฏหลักฐานในราว พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่าเดิมจัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอำเภอบางพลีดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง และชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีของ คนไทยเช่นกัน สิ่งนั้นคือมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวบางพลีได้มอบไว้ให้ลูกหลานของ ตน นั่นคือ “ประเพณีรับบัว”

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
          เป็นประเพณีที่ ได้ร่วมมือกันจัดขึ้นในวันแรมสิบห้าค่ำเดือนสิบ ซึ่งประวัติความเป็นมาของประเพณีอุ้มพระดำน้ำก็คือ เมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมีอาชีพหาปลาขาย และได้ไปหาปลาที่แม่น้ำป่าสักเป็นประจำทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งก็ได้เกิดเรื่องที่ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า เกิดอะไรขึ้นเพราะวันนั้น ไม่มีใครจับปลาได้สักตัว จากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นตรงบริเวณ วังมะขามแฟบ (ไม้ระกำ) ซึ่งปกติบริเวณนี้น้ำจะไหลเชี่ยวมาก จู่ ๆ น้ำก็หยุดไหล และมีพลายน้ำผุดขึ้นมา แล้วพระพุทธรูปก็ผลุดขึ้นมาด้วย ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว ขึ้นจากน้ำและนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนกระทั่งถึงวันสารทไทยหรือ วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ พระพุทธรูปองค์ดังกล่าว (พระพุทธมหาธรรมราชา) ก็ได้หายไปจากวัด ชาวบ้านจึงช่วยกันตามหาและเจอพระพุทธรูป อยู่บริเวณวังมะขามแฟบ จากนั้นเป็นต้นมา พอถึงวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็จะจัดงานซึ่งเรียกว่า “อุ้มพระดำน้ำ”

ประเพณีวิ่งควาย
ประเพณีวิ่งควาย 
           เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย

ประเพณีกวนข้าวทิพย์
ประเพณีกวนข้าวทิพย์
            เป็นพระราชพิธีที่กระทำกันในเดือน ๑๐ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี และได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และมาละเว้นเลิกรา ไปในสมัยรัชกาล ที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ แล้วมาได้รับการฟื้นฟู อีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะจัดกันในเดือน ๑๒ บางแห่งก็เดือนหนึ่ง ซึ่งคงจะถือเอาระยะที่ข้าวกล้า ในท้องนามีรวงขาวเป็นน้ำนม ของแต่ละปี และชาวบ้านก็มีความพร้อมเพรียง
ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว
ประเพณี บายศรีสู่ขวัญข้าว
          ช่วงเวลาประเพณีไทยสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว(หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น
ประเพณีวิ่งควาย 
ประเพณี ทำบุญโคนไม้
ประเพณีไทย การทำบุญโคนไม้ จังหวัด.ตราด
          ระยะเวลา ช่วงเดือนเมษายน และหลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองการทำบุญโคนไม้ เป็นประเพณีไทยพื้นบ้านอย่างหนึ่งของจังหวัดตราดที่ทำเป็นประจำทุกปี สะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านในชุมชน การทำบุญโคนไม้และการทำบุญตามสถานที่สำคัญในหมู่บ้าน นอกจากจะให้ผลในการดำเนินชีวิตโดยตรงแก่ผู้ใหญ่แล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้ลูกหลานของตนรู้จักรักป่า แผ่นดิน และพื้นน้ำ ไม่คิดทำลายธรรมชาติ ที่ตนต้องพึ่งพาอาศัย ในขณะเดียวกันยังสอดแทรกคุณธรรมเรื่องความกตัญญูรู้คุณสืบทอดให้แก่ลูกหลานในหมู่บ้าน ให้รู้จักการทำบุญให้ทาน มีความเมตตาเอื้อเฟื้อ รู้จักรักผู้อื่น อันเป็นคุณธรรมหลักของการอยู่ร่วมกัน
ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคมรับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิตประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล โดยคำว่า"ประเพณี"นั้นมีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป

1.
ประเพณีไหลเรือไฟ

    ในคืนวันออกพรรษา จังหวัดทางภาคอีสานที่ติดกับลุ่มน้ำมูล ชี และโขง จะมีประเพณีการปล่อยเรือไฟไหลไปตามลำน้ำ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในชื่อว่า ประเพณีไหลเรือไฟ หรือในภาษาถิ่นจะเรียกว่า เฮือไฟ  โดยจะจัดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑  ของทุกปี นอกจากสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาในพระพุทธศาสนานของชาวบ้านแล้ว ยังเแสดงถึงความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเดียวกันอีกด้วย ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการไหลเรือไฟคล้ายๆ กัน นั่นคือ การไหลเรือไฟเพื่อเป็นการสักการะบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชารอยพระพุทธบาท บวงสรวงพระธาตุจุฬามณี การขอขมาแม่พระคงคาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไปในแม่น้ำลำคลอง  บรวงสรวงต่อพญานาค บางแห่งเชื่อว่าการไหลเรือไฟเป็นการสะเดาะเคราห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากตนเองและครอบครัว บ้างก็เชื่อว่าการไหลเรือไฟจะทำให้ปีต่อๆ ไปฝนตกต้องตามฤดูกาล ด้วยเหตุนี้ สมัยก่อนแต่ละหมู่บ้านก็จะร่วมกันสร้างเรือไฟขึ้นมาสำหรับหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเองก่อนจะนำมารวมกันที่ลำน้ำ

2.ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
ในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า ชาวลาวและชาวไทยอีสานจะมีงานบุญสำคัญเกิดขึ้นงานหนึ่ง เรียกกันในชื่องานบุญข้าวประดับดิน หรืองานบุญเดือนเก้า ซึ่งจะตรงกับเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยจะนำข้าวปลาอาหาร ของคาว ของหวาน ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ แบ่งมาอย่างละเล็ก อย่างละน้อย ห่อใบตองเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางไว้ตามโคนไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เพื่ออุทิศกุศลให้แก่ปู่ย่าตายายญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยจะเรียกประเพณีนี้ว่า ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
    โดยสาเหตุ
ที่ชาวลาวและชาวไทยอีสานเลือกวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้าเป็นวันทำบุญข้าวประดับดินก็สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ในคืนวันดังกล่าว ประตูนรกภูมิจะเปิดออก ภูติผีในนรกจะได้ออกมาเยี่ยมญาติพี่น้องในโลกมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่จึงจัดห่อข้าวปลาอาหารนำมาเลี้ยงดูญาติพี่น้องของตนที่เสียชีวิตไปแล้ว ความเชื่อดังกล่าวนี้มีที่มาจาก ตอนหนึ่งในพระธรรมบท ที่เล่าถึงพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วไม่ได้อุทิศให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ทำให้ดวงวิญญาณญาติต่างไม่ได้รับส่วนบุญ จึงมาส่งเสียงร้องใกล้ที่ประทับ หลังทูลถามพระพุทธเจ้า ทรงแนะนำให้พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแล้วอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณญาติเหล่านั้นนั่นเอง

    สำหรับอาหารคาวหวานผลหมากรากไม้ที่นำมาห่อใบตอง ประกอบด้วย ข้าวเหนียวนึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ เท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน เนื้อปลา หมู่ ไก่  กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่นๆ  หมาก ๑ คำ บุหรี่ ๑ มวน เมี่ยง ๑ คำ

3.ประเพณีบุญบั้งไฟ
    ประเพณีบุญบั้งไฟ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม เกษตรกรจึงต้องพึ่งพาธรรมชาติในการเพาะปลูก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นหลักในการเพาะปลูก หากปีใดน้ำไม่เพียงพอที่จะเพาะปลูก เกษตรกรจะจัดพิธีขอฝน โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประเพณีบุญบั้งไฟเป็นหนึ่งในประเพณีสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยตลอดจนถึงประเทศลาวที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันต่อมา โดยนอกจากจะเป็นการขอฝนแล้ว ในความเชื่อของชาวบ้านในท้องถิ่นมีอยู่ว่าการจุดบั้งไฟยังเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง ถ้าจุดบั้งไฟแล้วลอยขึ้นสูงทำนายได้ว่าปีนี้ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล 

4.ประเพณีการละเล่นผีตาโขน
    ประเพณีเล่นผีตาโขนเป็นประเพณีที่ชาวด่านซ้ายจังหวัดเลยถือปฏิบัติสืบต่อกันอย่างยาวนาน  ผู้ที่สวมบทบาทเป็นผีตาโขนนั้นจะต้องสวมหน้ากากที่น่าเกลียดน่ากลัว ทำจากหวดนึ่งข้าวเหนียว แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส ออกเดินร่วมขบวนไปกับขบวนแห่งานบุญหลวง ซึ่งจะจัดร่วมไปกับงานบุญหลวง ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปัจจุบัน ประเพณีเล่นผีตาโขน นอกจากจะเป็นประเพณีที่ชาวด่านซ้ายช่วยกันอนุรักษ์ไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนแล้ว ประเพณีนี้ยังช่วยกระตุ้นในเรื่องของการท่องเที่ยว นำเม็ดเงิน ชื่อเสียงมาสู่จังหวัดเลยเป็นประจำทุกปี

5.ประเพณีบุญคูณลาน
การทำบุญคูนลาน จะทำที่วัด หรือที่บ้านก็ได้ โดยชาวบ้านจะเอาข้าวมารวมกัน แล้วนิมนต์พระภิกษุมาเจริญพระพุทธมนต์ จัดน้ำอบ น้ำหอมไว้ประพรม วนด้ายสายสิญจน์บริเวณรอบกองข้าว ตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาต และนำเอาน้ำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว ถ้าทำที่บ้านเรียกว่า "บุญกุ้มข้าว" กำหนดในเดือนยี่ เรียกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนยี่"                                                       ที่มาhttps://www.dek-d.com/board/view/3775291/                                                                                                                                    

                                                           วัฒนธรรมภาคเหนือ
    ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนักภาคเหนือมีทั้งสิ้น 17 จังหวัด แบ่งออกเป็น ภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดตาก  จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี

ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า

 ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า
          ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ เพื่อเป็นการสักการะองค์พระบรมธาตุ และบวงสรวงขอพรเทวดาในการเริ่มฤดูทำนา โดยจะทำในทุกวันขึ้น 14 และ 15 ค่ำ เดือนเก้าของทางภาคเหนือ ซึ่งในแต่ละปีวันที่และเดือนจะไม่ตรงกัน เพราะนับตามปฏิทินล้านนา จะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม มิถุนายน ของทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเก้า

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว
ประเพณีทอดผ้าป่าแถว
          เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)

ประเพณีลอยโคม
ประเพณีลอยโคม
          ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อใน การปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว

ประเพณีสืบชะตา
ประเพณีสืบชะตา
              เป็นประเพณีของชาวไทยล้านนาโดยทั่วไป มีทั้งการสืบชะตาเมืองสืบชะตาบ้าน และสืบชะตาบุคคลเพื่อความเป็นสิริมงคลความเจริญรุ่งเรือง มีการเตรียมเครื่องบูชาเซ่นไหว้ต่าง ๆ มากมาย เพื่อบูชาพระเสื้อเมืองพระทรงเมืองส่วนการสืบชะตาบุคคลนั้นมักจะทำเนื่องในวันเกิด
งานขึ้นบ้านใหม่ หรือเมื่อเจ็บป่วย
ประเพณีก๋วยข้าวสลาก
ประเพณีทานข้าวสลาก
          ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “ตานก๋วยสลาก” หมายถึง ประเพณีถวายสลากภัตนั่นเอง เริ่มในวันเพ็ญเดือน 12 เหนือตลอดเดือนแล้ว แต่ที่ใดจะเห็นเหมาะสมจัดในวันใดก่อนวันพิธีถือว่าเป็น “วันดา” ชาวบ้านจะเตรียมเครื่องไทยทานแล้วนำไปวัดที่จัดงานเพื่อถวาย พระ สามเณร
มีการเขียนคำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายและพวกเทวดาทั้งหลายมีการจับสลากในการถวายตามหมายเลขว่าตรงกับพระรูปใดพระรูปนั้นก็จะรับประเคนและจะให้พร

ประเพณีสงกรานต์
ประเพณีสงกรานต์ 
               เป็นประเพณีเก่าแก่มาแต่โบราณ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปีชาวเชียงรายถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนศักราชใหม่ ชาวบ้านเรียกกันว่า “วันสังขารล่อง” หมายถึงว่าอายุสังขารของคนเราได้ล่วงไปอีกปีหนึ่งนิยมไปจนถึงวันที่ 17 เมษายน ในแต่ละวันจะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพระพุทธรูปและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
ประเพณีตานตุง
ประเพณีตานตุง 
          ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง “ธง” จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์

ประเพณีลอยกระทงสาย
ประเพณีลอยกระทงสาย
          เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท

ประเพณีปอยหลวงหรือบุญปอยหลวง
ประเพณีปอยหลวงหรือบุญปอยหลวง
          เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน

ประเพณีแข่งเรือยาว
ประเพณีแข่งเรือยาว
             เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล การจัดแข่งจะจัดกันเองในหน้าน้ำ ในเทศกาลตานก๋วยสลาก (สลากภัต) แต่ละวันก็จะนำเรือของตนเข้าแข่งเพื่อเป็นการสมานสามัคคีกันเอกลักษณ์ของเรือ คือ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น โดยเชื่อกันว่า มีความทนทานและผีนางไม้แรง

Advertisements

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่3กฎหมาย

บทที่4หน้าที่พลเมืองที่ดี

บทที่5สถาบันทางสังคม